วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

แก้วโป่งข่ามกับพิธีกรรม

การล้างแก้ว เชื่อกันว่าการล้างแก้วเป็นการชำระล้างสิ่งไม่ดีที่แก้วได้ซึมซับเอาไปจาก ตัวเรา โดยการนำแก้วไปล้างกับน้ำที่ไหล ซึ่งอาจจะเป็นลำธาร, ก๊อกน้ำ หรือน้ำที่รินออกจากแก้วก็ได้ (ล้างได้บ่อยเท่าที่มีโอกาส)
การขึ้นพานบูชาแก้ว จะกระทำกันในวันพระ โดยเฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) โดยการนำเอาน้ำสะอาด 1 แก้ว, ดอกไม้หรือเครื่องหอม (น้ำอบ, แป้งหอม ฯลฯ) ใส่พาน และกำหนดจิตด้วย คาถาบูชาแก้ว (หากเป็น “แก้วเข้าแก้ว” ขอแนะนำให้หาหมากหนึ่งคำใส่พานด้วย)
แก้วอาบแสงจันทร์ การนำแก้วอาบแสงจันทร์ (วันเพ็ญ) เชื่อกันว่า แก้วจะดูดซับพลังจากแสงจันทร์ ซึ่งจะมีผลทำให้แก้วมีพลังอานุภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการทำให้แก้วนั้นบริสุทธิ์อีกด้วย (เป็นที่ทราบกันดีว่า ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าดวงจันทร์มีพลังที่ส่งผลกระทบถึงโลก อันเป็นสาเหตุของน้ำขึ้น น้ำลง และอื่น ๆ)
การเข้าร่วมพิธีกรรม การนำแก้วเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากแก้วจะได้ซึมซับพลังจากการแผ่เมตตาจิตของพระภิกษุ

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

คาถาบูชาแก้วโป่งข่าม

ข่ามคง, แคล้วคลาด (แก้วทุกชนิด) นะมะพะทะ นิมิพิทิ นุมุพุทุ
แก้วทุกชนิด นะอุกะอะ นะมะมะอะ มะอุมะนะ อะนะอะมะ อะอุอุมะ อุนะอุอะ
(เจริญด้วยทรัพย์สมบิติ ปราศจากโรคภัย)
พิรุณแสนห่า(หรือแก้วชนิดอื่น) พุทโธโมเธยยัง มุตโตโมเจยยัง ติณโณตาเรยยัง ปะสะหังปะตัง
หมอกมุงเมือง(หรือแก้วชนิดอื่น) เทวะรานะมานะ (ภาวนาให้เกิดความร่มเย็น)
แก้วทราย(หรือแก้วชนิดอื่น) สะมามิมิทธิมามิ (เจริญด้วยสมบัติ ร่ำรวยเงินทอง)

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

การกำเนิดลวดลายในเนื้อแก้ว ตามหลักศาสตร์โบราณ

  เป็นความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณที่เชื่อว่าแก้วเหล่านี้มีสิ่งศักิด์สิทธิ์ คุ้มครองอยู่ จิตวิญญาณเหล่านี้เป็นเทวดาประเภทหนึ่ง  ซึ่งในพระไตรปิฎกก็กล่าวถึง อย่างคันธัพเทวา ที่หมายถึงเทพยดาที่ปฏิสนธิในไม้ชนิดต่างๆ และยังหมายถึงเทวดา หรือจิตวิญญาณที่อยู่กับวัตถุธาตุทั้งที่ปฏิสนธิโดยธรรชาติ หรือทั้งมนุษย์ผู้มีบารมีอันเชิญมา อย่างการปลุกเสกเครื่องรางของขลังเป็นต้น

          เทวดา หรือจิตวิญญาณเหล่านี้คล้ายกับเราๆตรงที่มีอุปนิสัยใจคอ ลักษณะ และความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเข้ามาครองธาตุขันธ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุทั้ง ๔ อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกับวิญญาณ ก็จะเกิดการก่อรูป (ในที่นี้หมายถึงตอนที่กำเนิดแก้วก้อนนั้นๆ)

          ตามที่กล่าวในพระไตรปิฎกว่า "วิญญาณเป็นปัจจัยให้กำเนิดนามรูป" ตรงนี้จึงทำให้แก้วแต่ละก้อน หรือแต่ละดวงนั้นแตกต่างกันจนเกิดเป็นการจำแนกคุณลักษณะภายนอกของแก้ว จากภูมิปัญญาโบราณที่ปรากฏทำให้เราสามารถแยกลักษณะจากรูปภายนอกเพื่อเข้าถึง นามรูปที่ปรากฏอยู่ภายในที่ซ้อนในอีกมิติหนึ่ง

ชนิดของแก้วโป่งข่ามอาศัยหลักในการพิจารณาดังนี้

ชนิดของแก้วโป่งข่ามอาศัยหลักในการพิจารณาดังนี้

๑. ว่าด้วยน้ำของแก้ว

     ซึ่งพิจารณาได้ ๒ ส่วนคือ ๑.๑) น้ำแก้ว และ ๑.๒) ตัวแก้ว ซึ่งมีหลักดังนี้

     ๑.๑) น้ำแก้ว ซึ่ง น้ำแก้ว นั้นยังสามารถแบ่งได้อีกคือ

          ๑.๑.๑) ประเภทน้ำใส เป็นแก้วที่ใส แสงส่องทะลุเหมือนกระจกได้ แต่ภายในอาจมีรอยราน หรือเหลี่ยมแก้วภายในทำให้เกิดการสะท้อนแสงภายในแก้วต่างๆกัน ถือเป็นลักษณะพิเศษ ซึ่งได้แก่ แก้วน้ำหาย (แก้วน้ำค้าง) น้ำแก้วน้ำใส (น้ำแก้วแร่ใน) ประกายแก้ว (วาวระยิบระยับคล้ายรอยสะเก็ดแก้วรอบๆ) แก้วกระจาย (วาวของทรายแก้วที่กระจายรอบๆ) ปวกแก้ว (ปวกน้ำดาวกระจาย-ไข่ปู) และ รุ้ง ๗ สี (รุ้งโปร่งแสง)

          ๑.๑.๒) ประเภทน้ำขุ่น คือแก้วที่มีความใสบางส่วน มีแร่ หรือแก้วทึบทำให้ดูเหมือนน้ำใสแล้วมีตะกอนขุ่นข้างใน ซึ่งลักษณะเหมือนแก้วมีตำหนิไม่ใส แต่ความจริงแล้วเป็นแก้ววิเศษ เพราะลัษณะต่างๆที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวบอกได้ว่าแก้วเหล่านี้มีคุณวิเศษด้านใด อันได้แก้ ขุ่นเนื้อลำไย (ขุ่นมีมันเวลาขัดขะขึ้นเงา) ขุ่นเมื้อมัน ขุ่นเนื้อด้านกินบ่เสี้ยง ขุ่นเนื้อด้าน ขุ่นเนื้อด้านมีแร่ เหลือบ (คือมีแร่วิ่งตามลำสะท้อนแสง)

          ๑.๑.๓) ประเภทน้ำตัน คือแก้วที่ทึบแสง เรียกว่า ตัน แต่เนื้อแก้วมีความมันวาว

อาจมีสินแร่ หรือลักษณะบางประการอยู่ที่ตัวเม็ดแก้ว ซึ่งได้แก่ ตันด้าน ตันมีแร่ ตันมัน ตันกินบ่เสี้ยง เป็นต้นค่ะ

     ๑.๒) ตัวแก้ว พิจารณาตั้งแต่หน้าแก้ว (บนแก้ว) กลางแก้ว และพื้นแก้ว (ก้นแก้ว) ว่าน้ำแก้วเป้นอย่างชนิดดีมาก ดีปานกลาง หรือว่าไม่สู้ดี ดูว่ามีตำหนิหรือไม่ ถ้ามีรอยประการแทรกอยู่ ลองหมุนดูรอบๆ หากเป็นประกายขาวๆดำๆ เหลือบกันในขณะที่มุนดูรอบๆก็แสดงว่าเป็นแก้วร้าว  แก้วดีแต่มีตำหนิอาจจะมีราคาสู้แก้วปานกลางแต่ไม่มีตำหนิไม่ได้ แก้วราคาดีอยู่ในประเภทหิวแก้ว ถ้าแก้วจำพวกมัวทึบ อาจจะเป็นพวกหินสี ซึ่งจะมีค่าต่ำกว่า

     แก้วหินแท้จุมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าแก้วกระจกธรรมดา ซึ่งสามารถทดลองดูง่ายๆได้ด้วยการนำเอาแก้วทั้งสองชนิดแตะดูที่แก้มจะพบว่า มีความเย็นที่ผิดกัน

๒. ว่าด้วยสีของแก้ว

     สีของแก้วโป่งข่ามเท่าที่พบ ทั้งที่มาจากแท่งหินแก้วหนุมาน และก้อนหินเนื้อตันที่มีต่างๆ เช่นสีฟ้า สีน้ำเงิน สีน้ำเหล็ก (สีน้ำแกร่ง) สีหม่น สีเขียว สีน้ำตาล สีหนามเฮี้ยง (สีวิตูลน้ำผึ้ง) สีเหลือง สรประภาส้มชื่น (ชมพูอ่อน) สีแดง สีขาว (ขุ่นมัน และขุ่นตัน) สีก้อ (สีทับทิม) สีม่วง (สีดอกตะแบก) สีดำมหานิล กินบ่เสี้ยง สีนิลเผือก สีหมอก สีทั้งหมดนี้ เฉพาะสีม่วง และสำดำมหานิล มีอยู่น้อยมากจนเกือบไม่เป็นลักษณะหินแก้วจากโป่งข่าม

๓. ว่าด้วยลวดลายประกอบภายในเนื้อแก้ว

     หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในแก้วเม็ดนั้น ซึ่งอยู่ในตำแหน่งสวยหรือไม่ อย่างไร และทำให้แก้วดวงนั้นดูเด่นขึ้น หรือตลอดจนมีสิ่งที่อยู่ในเนื้อแก้วมากเกินไป ร้อนเกินไป ถ้าเป็นลวดลายต่างๆ ก็ดูลักษณะลวดลายนั้นว่าดีเด่นเพียงใด สิ่งประกอบนึ้ขึ้นอยู่กับการเลือกตำแหน่งของช่างเจียรไนด้วย

     ๓.๑) ประเภทที่เกิดในแก้วโป่งข่าม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

          ๓.๑.๑) ประเภทสลักหิน พรายเงิน น้ำใสอมฟ้าหม่น

          ๓.๑.๒) ประเภทสลักลอย ช่อแก้ว น้ำใส ฟ้าอ่อน

          ๓.๑.๓) ประเภทปวกครั่งเขียว ทรายคำ น้ำใสเขียว

          ๓.๑.๔) ประเภทเส้นเหล็ก ลายทแยง น้ำใสประกายแก้ว

     ๓.๒) สิ่งที่อยู่ในแก้ว อยู่ในประเภทอะไรบ้าง เช่น แก้วปวก แก้วกาบ ใย แก้วเข้าแก้ว หรือประเภทเส้นต่างๆ ล้วนเป็นธรรมชาติของแร่ที่เข้าไปตกผลึกอยู่ภายในทั้งสิ้น พวกกาบที่สวยที่สุดคือ กาบเป็นรูปดกไม้ กาบต่างๆเป็นแร่อีกชนิดหนึ่งที่ต่างไปจากเนื้อแก้ว


ถ้าเห็นช่อแก้วคล้ายดอกไม้บางที อาจเป็นเพรากรรมวิธี หรือรอยแก้วร้าว สังเกตข้อแตกต่างให้ดี เส้นต่างๆที่เรียกว่าเส้นเหล็กถ้าเป็นของบ่อโป่งข่ามจะมีลักษณะเหมือนเส้นผม หรือเหมือนเข็ม บางทีเหมือนจนแปรงที่ออกเป็นพุ่ม เป็นแร่ธาตุต่างกันออกไปค่ะ

จากลักษณะพื้นฐานที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นพอที่จะจำแนกแก้วโป่งข่ามชนิดต่างๆ ตามลักษณะหมวดได้ออกเป็น ๓ หมวดใหญ่ รวม ๑๓๐ ชนิด  คือ

     ๑. น้ำแก้ว แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

     - น้ำใส

     - น้ำขุ่น

     - น้ำตัน

     ๒. สีของแก้ว แบ่งเป็น ๓ประเภท คือ

     - แก้วสี

     - แก้วลายสี

     - แก้วเหลือบสี

     ๓. ลวดลายองค์ประกอบ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

     - ลวดลายจากเนื้อแก้ว

     - ลวดลายจากแก้วเข้าแก้ว

     - ลวดลายจากแก้วเข้าแร่อื่นๆ

๑. โดยน้ำของแก้ว แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท น้ำใส, น้ำขุ่น และ น้ำตัน สามารถจำแนกประเภทแก้วได้ดังนี้

ประเภทน้ำใส

     ๑.   แก้วน้ำหาย (แก้วน้ำค้าง)

     ๒.   น้ำแก้วน้ำใส (น้ำแก้วแรใน)

     ๓.   น้ำแก้วกลิ้งใน (แก้ววิตูลเทศฟองสมุทรมีน้ำจริงกลิ้งอยู่ข้างใน

     ๔.   ประกายแก้ว

     ๕.   ลายแก้วกระจาย

     ๖.   ปวกแก้ว

     ๗.   รุ้งเจ็ดสี (รุ้งโปร่งแสง)

*รุ้ง ๗ สี จากผลต่างของแก้วในสกุลเดียวกันออกสีวาวแววเป็นศิลปะลวดลาย จากปรากฏการณ์ของแก้ว

*รุ้ง ๗ สี จากแผ่นแร่ต่างสกุล ออกสีวาวโลหะ เป็นการร่วมสหชาติกับแร่อื่น

ประเภทน้ำขุ่น

     ๘.   ขุ่นเนื้อมัน (เนื้อลำไย -เวลาขัดขึ้นเงา)

     ๙.   ขุ่นวาวไหมป้านกลาง แรเหลือบสีชา คือแรมุกดาจิระประภา

     ๑๐.  ขุ่นควัน หรือขุ่นครึ่งใสหมอกมุงเมือง

     ๑๑.  ขุ่นเนื้อมัน กินบ่เสี้ยง

     ๑๒.  ขุ่นเนื้อด้าน กินบ่เสี้ยง

     ๑๓.  ขุ่นเนื้อด้าน

     ๑๔.  ขุ่นเนื้อด้านมีแร (แร ๔ อย่าง)

ประเภทน้ำตัน

     ๑๕.  ตันด้าน

     ๑๖.  ตันมีแร

     ๑๗.  ตันมัน

     ๑๘.  ตันกินบ่เสี้ยง

 ๒. โดยสีของแก้ว ทั้งแก้วสี แก้วลายสี และแก้วเหลือบสี มีดังนี้

     ๑๙.  แก้วเหลือบสีพรหมสามหน้า

     ๒๐.  สีฟ้า

     ๒๑.  สีน้ำเงิน

     ๒๒.  สีน้ำเหล็ก (สีน้ำแกร่ง)

     ๒๓.  สีหม่น

     ๒๔.  สีเขียว

     ๒๕.  สีน้ำตาล

     ๒๖.  สีวิตูลน้ำผึ้ง

     ๒๗.  สีเหลือง

     ๒๘.  สีประภาชมชื่น (เหลืองทองอมชมพูอ่อน)

     ๒๙.  สีแดง

     ๓๐.  สีแดงสุริยประภา

     ๓๑.  สีนวลจันทรประภา (ออกเหลือง)

     ๓๒.  สีนวลจิรประภา (ออกวาวเหลือบสีชา)

     ๓๓.  สีขาว (ขุ่นมัน และขุ่นตัน)

     ๓๔.  สีก้อ (สีทับทิม)

     ๓๕.  สีม่วง (สีดอกตะแบก)

     ๓๖.  สีดำมหานิล

     ๓๗.  สีวิตูลก่านกินบ่เสี้ยง (คือสีต่อกลืนกันในลักษณะม้วนตัว)

     ๓๘.  สีนิลเผือก

     ๓๙.  สีหมอกเมฆ

     ๔๐.  สีเนื้อลำไย

     ๔๑.  สีเนื้อหยก

     ๔๒.  สีเนื้ออ้อย

     ๔๓. สีชมพู



๓. ลวดลายประกอบ แบ่งได้ ๓ ประเภท คือ ลวดลายจากเนื้อแก้ว, ลวดลายจากแก้วเข้าแก้ว และลวดลายจากแก้วเข้าแร่อื่นๆ

ลวดลายจากเนื้อแก้ว อันได้แก่

๔๔. ลายเมฆ
๔๕. ลายสายฝน หรือที่เรียกว่า "ฝนแสนห่า"
๔๖. ลายเปลวปล่องฟ้า
๔๗. ลายควัน
๔๘. ลายหมอก
๔๙. ลายหมอกควัน
๕๐. ลายหมอกควันเปลว
๕๑. ลายหมอกมุงเมือง
๕๒. ลายแพร
๕๓. ลายปุย
๕๔. ลายเสี้ยนแก้ว
๕๕. ลายเส้นแก้ว
๕๖. ลายเส้นสี
๕๗. ลายริ้วหิน
๕๘. ลายหมัดแก้ว หมัดสีต่างๆ
๕๙. ลายกาบรุ้ง
๖๐. ลายสะเก็ดดาว
๖๑. ลายแก้วสลัก

ลวดลายประกอบจากแก้วเข้าแก้ว หรือแก้วร่วมสกุล

๖๒. แก้วเข้าแก้วเง่า
๖๓. แก้วเข้าแก้วโตน
๖๔. แก้วเข้าแก้วแฝด
๖๕. แก้วเข้าแก้วซ้อนแก้ว (แก้วสหชาติ)
๖๖. แก้วเข้าแก้วเข้าแร่ (แก้วสหชาติต่างสกุล)
๖๗. แก้วเข้าแก้วสลัก

ลวดลายประกอบจากแก้วเข้าแร่อื่น ๗ อย่าง คือ ปวก กาบ เส้น ใย ช่อ สลัก และเป๊กปวก  อันได้แก่

๖๘. ปวกไรแก้ว
๖๙. ปวกทราย
๗๐. ปวกครั่ง
๗๑. ปวกเครือ
๗๒. ปวกลอย
๗๓. ปวกปุย
๗๔. ปวกสี
๗๕. ปวกวรรณสาม (สามสี)
๗๖. ปวกเบญจรัตน์ (ห้าสี)
๗๗. ปวกสัตรัตน์ (เจ็ดสี)
๗๘. ปวกนวรัตน์ (เก้าสี)

ปวกแต่ละชนิดนี้มีชื่อตามลักษณะสี เช่น ปวกเขียว ปวกแดง ปวกคำ (ปวกทอง) ปวกเงิน ปวกแก้ว ฯลฯ เป็นต้น

กาบ  อันได้แก่
๗๙. กาบช่อกุหลาบ
๘๐. กาบกลีบเอื้อง
๘๑. กาบรุ้ง ๗ สี
๘๒. กาบรุ้งทรงใบบัว
๘๓. กาบลารุ้งแพร
๘๔. กาบแบบกาบหอย
๘๕. กาบแบบใบพาย
๘๖. กาบลอย
๘๗. กาบลายเปลว หรือกาบสลัก
๘๘. กาบมุก
๘๙. กาบสีต่างๆ ซึ่งบ่างตามสีต่างๆ เช่น กาบรุ้งขาว รุ้งเงิน รุ้งคำ (รุ้งทอง) กาบมุก กาบ คือ แร่แผ่นต่างสกุลกับแก้ว
"โป่งข่าม"

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ลักษณะความเชื่อ เกี่ยวกับแก้วโป่งข่ามอย่างไหนใช้ทางใด

ความเชื่อถือและนิยมเกี่ยวกับแก้วโป่งข่ามนั้นมีผุ้นิยมเชื่อถือตามประสบการณ์และความเชื่อดั้งเดิมดังนี้
1.การอยู่ยงคงกระพัน
- แก้วสีฟ้า หรือฟ้าหมอก
- แก้วปวกเขียวและปวกสีต่างๆ
- แก้วขนเหล็ก แก้วไหมทอง ไหมเงิน ไหมนาก
- แก้วขาว
- แก้วเข้าเป๊ก หรือแก้วพวกที่สหชาติกับแร่ธาตุอื่นๆเช่น เป๊กหน้าทั่ง
- แก้วขนเหล็กน้ำตัน
2.การมีอำนาจชนะฝ่ายตรงข้าม
- แก้วเส้นต่างๆ
- แก้วฝนแสนห่า
3.การมีเมตตามหานิยม
- แก้วสีฟ้าแร
- แก้วเนื้อลำใย
- แก้วปวกเขียว ปวกสีต่างๆ
- แก้วกาบ
- แก้วตูลต่างๆ หรือแก้ววิทูรย์
- รวมทั้งแก้วหินทรายและแก้วหินสีต่างๆ
4.การมีฤทธิ์ คลาดแคล้ว และความสำเร็จ
- แก้วปวกเขียว ซึ่งมีเรื่องราวและประวัติมากที่สุด
5.การมีโชคและเป็นแม่แก้วต่างๆ
- แก้วเข้าแก้วจากหน่อแม่และหน่อโตน โตน คือ โทน
- แก้วเข้าเป๊ก
*** แม่แก้ว หมายถึง แก้วที่ชอบมีบริวารพ่วงตามมา เช่น เมื่อมีแก้ว 1 แล้ว มักจะได้ของดีตามติดกันมาอีก ผู้มีคาถาอาคมปลุกเสก ทดลองโดยเอาแก้ว 1 อธิษฐาน แก้วที่มีลักษณะเป็นแม่เหนือกว่า จะหันหัวเข้าไปหาแก้ว 2 ที่เป็นลูก
6.การมีโชคและลาภลอย
- แก้วแร
- แก้วเนื้อลำใย
7.การมียศ
- แก้วกาบ
- แก้วสุริยประภา หรือ แก้ววิตูลหนามเ^_^้ยง สีแดงเพลิง
8.ความชุ่มเย็นกันไฟ
- แก้วน้ำหาย
- แก้วเข้าแก้ว
- แก้วใสขาวต่างๆ
- แก้วเข้าหลักรูปต่างๆ
9.ความอยุ่เย็นเป็นสุข
- แก้วปวกต่างๆ
- แก้วกาบต่างๆ
- แก้ววิตูลสีน้ำตันต่างๆ
10.ความผจญภัย
- แก้วขนเหล็กน้ำใสและน้ำตันต่างๆ
- แก้วเข้าเป๊ก
11.ความมีชื่อเสียง อำนาจวาสนา ดีในการเดินทางและแสดงโชคลาง
- แก้วสีฟ้า
- แก้วหมอกมุงมอง
- แก้วปวก 3 สี
*** แก้วสีฟ้าและปวกสี เมื่อจะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง สีซีดลงมักมีข่าวหรืออยู่ในระยะกังวล แก้วหมอกมุงเมือง เวลามีวาวมักโชคดีในการเดินทาง
12.ร่ำรวยมั่นคง
- แก้วสามกษัตริย์
- แก้วเข้าแก้ว
- แก้วประภาชื่นชม
- แก้วเข้าหลักเงิน หลักคำ
- แก้วกินบ่อเสี้ยง
- แก้วทรายคำ – หมัดคำ
13.ยศตำแหน่ง
- แก้วพรหมสามหน้า
- แก้วกาบ
- แก้วสุริยประภา
- แก้วสลัก
- แก้วปวกต่างๆที่มีปรากฏการณ์เติบโตได้

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

อำนาจพลังจากธรรมชาติของแก้วโป่งข่าม

อำนาจของโป่งข่ามย่อม เกิดจากการแผ่ของสนามแม่เหล็กโลกที่ครอบคลุมโลกอยู่ ที่เหนี่ยวนำ และอิทธิพลต่อบรรดาสรรพสิ่ง ยกตัวอย่างการที่นกสามารถบินกลับรังได้นั้นแม้ว่าจะไปไกลแค่ไหนก็ตามนัก วิทยาศาสตร์ได้วิจัยแล้วว่าการที่มันบินกลับรังได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ความจำ เพราะนกมีสมองที่เล็กมาก แต่พบว่าการที่มันหาเส้นทางกลับได้นั้นมันอาศัยสนามแม่เหล็กโลกนี่เอง คลื่นสนามแม่เหล็กโลก จะมีการกระเพื่อมขึ้น-ลงตลอดเวลาแต่เราไม่รู้สึก หรือถ้าเครื่องวัดไม่ละเอียดพอก็ไม่สามารถตรวจพบได้เลยการกระเพื่อมของสนาม แม่เหล็กโลกนี้ทำให้เกิดศักย์ทางไฟฟ้าที่แก้วโป่งข่าม เหมือนถ่านไฟฟ้าที่ประจุชาร์ทพลังงานเลยทีเดียว เมื่อนานนับร้อยนับพันปีแก้วเหล่านี้ก็จะสะสมพลังงานมากขึ้นจนมีพลังในตัว ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีพลังงานที่ต่างกันไป ดังนั้นแร่ Quartz หรือ Crystallace ในที่ต่างๆจึงมีคุณภาพที่แตกต่างกันออกไปเช่นกันทั้งด้านความแข็ง และอานุภาพต่างๆในแง่พลังงาน โดยที่คุณสมบัติพื้นฐานของแร่ซิลิก้าจะเป็นตัวกักเก็บพลังงานไว้ โดยมีสินแร่ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ที่แทรกตัวรวมเข้ากับแท่งแก้ว และก่อตัวทำให้เกิดสีสัน วรรณะของแก้วนั้นๆให้มีความแตกต่างกันออกไป ตลอดจนแสดงพลังงานออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปจนคนโบราณสังเกตพบ และกำหนดชื่อเรียกขานแก้วแบบนั้นๆ ตามลักษณะ และรูปแบบพลังงานที่แสดงออกมาเพื่อสะดวกแก่การจดจำ และใช้สอย

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

แก้วโป่งข่าม รัตนชาติตระกูลquartz

            แก้วโป่งข่าม คือแก้วที่ก่อกำเนิดมาจากผลึกแร่ quartz หรือหินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งจะมีแววประเภท Vitreous Luster หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วาวแก้ว"มีการสะท้อนแสงแบบแก้วประกายรุ้งซึ่งจากลักษณะน้ำในแก้วทั้งสองประการนี่เองที่ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการตั้งชื่อลวดลายต่างๆในเนื้อแก้วโป่งข่าม
ธรรมชาตของแก้วโป่งข่าม

   โครงสร้างโป่งข่ามตามหลักธรณีวิทยา

          แก้ว โป่งข่ามจัดว่าเป็นแร่อย่างหนึ่ง ซึ่งในวิชาแร่ (Mineralogy) เรียกว่า ควอทซ์ (Quartz) ซึ่งในภาษาไทยมักเรียกทับศัพท์บ้าง เรียกว่าเขี้ยวหนุมานบ้าง หรือเรียกหินดินสอก็มี quartz ส่วนมากเกิดเป็นรูปผลึก รูปร่างเป็นแท่งอย่างแท่งดินสอที่เป็นเหลี่ยมหกด้าน ปลายมักแหลม ผลึกมักเกิดเกาะกันเป็นหมู่ หรือแม้แต่เบียดกันเป็นผลึกซ้อนก็มี ส่วนมากผลึกมีขนาดใหญ่ เล็ก ยาว สั้น ไม่เท่ากัน ชาวเหนือมักเรียกว่าหน่อแก้ว ถ้าผลึกเล็กมากไปก็มองไม่เห็นรูปร่างของผลึก ถ้าโตพอ เช่นตั้งแต่ขนาดเข็มหมุดขึ้นไปจะเห็นรูปผลึก ผลึกของ quartz ยาว 10 ถึง 30 ซม. กว้าง 4-55 ซม. ถึง 10 ซม.ก็มีมาก ซึ่งผลึกอาจใส หรือขุ่นอย่างน้ำนมสด และอาจมีสีได้ต่างๆกันตามแต่ชนิดของแร่ที่เจอปนอยู่ในเนื้อ quartz เป็รแร่ที่แข็งมากอย่างหนึ่ง มาตรฐานความแข็ง (Moh' scale of hardness) ได้จัด quartz ไว้ในอันดับความแข็งที่ 7 (จาก 10 ขั้น ซึ่งเพชรมีความแข็งที่สุดคือที่อันดับ 10) ความแข็งขนาดนี้ทำให้ quartz คงทนต่อการสึกหรอได้ดีพอควร quartz จะแข็ง แต่ไม่เปราะ ขอบของผลึกที่เจียรไนแล้วจะไม่แตกง่ายอย่างเพทาย ประกอบกับการมีสีสรรสวยงามพอสมควร และมี variety มาก quartz จึงจัดเป็นรัตนะชาติตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง
รัตนชาติตระกูล quartz ซึ่งจำแนกโดยชนิด ได้แก่


๑. Amethyst คือแก้วสีม่วง ที่เราเรียกว่า"แก้วนางขวัญ" หรือ "พลอยสีดอกตะแบก" เป็นหินแก้วที่ตกผลึกใส โปร่งตา หรือโปร่งแสง ในประเทศไทยเท่าที่เคยมีการพบเห็น จะพบที่ จ.นครนายก, บ้านแม่สรอย จ.แพร่, อำเภอขลุง จ.ตราด และที่พบมากและมีเนื้อดีนั้นพบที่ บ้านแม่วะ อ.เถิน จ.ลำปาง


๒. Green Quartz หินแก้วสีเขียว

๓. Madeira Quartz หรือหิน quartz สีเหล้าองุ่นมะเดียร่า หรือสีน้ำผึ้งแก่อมแดงเล็กน้อย ไม่เคยได้ยินว่าพบในประเทศไทย จะพบโดยมากที่ประเทศพม่า

๔. Rose Quartz หิน quartz สีชมพูอ่อนดังสีกุกลาบ เคยพบที่บ่อเหมืองแร่ดีบุก จ.ระนอง และอ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

๕. Smoky Quartz หิน quartz สีฟ้า สีเทา สีควันไฟ ได้แก่หิน quartz แก้วโป่งข่ามที่ อ.เถิน และนับว่าเป็นโป่งข่ามที่ราคาดีกว่าที่มาจากแหล่งอื่นๆ

๖. Smoky Quartz ที่เป็นหิน quartz ที่มีสีเหลือง ได้แก้วแก้วโป่งข่ามที่ อ.เถิน เช่นกัน

quartz เหล่านี้จะตกผลึกใสโปร่งตา มีบางประเภทที่ใส แต่มีแร่ชนิดอื่นๆปนอยู่ด้วยเช่นพวก ใยหิน (Asbestos) รูไทล์ (Rutile) ทัวร์มาลีน (Tourmaline) กลีบหิน หรือบางคนเรียก กุหลาบทะเลทราย (Mica) คลอไรท์ (Chlorite) แร่เหล็กแดง (Hematite) และ แร่เหล็กเหลือง (Limonite) เป็นต้น

quartz ที่มาจากแก้วโป่งข่าม ดอยหมูไหล และดอยห้วยตาดซึ่งรวมเรียกว่าโป่งข่ามนั้นส่วนใหญ่เป็นหิน quartz จำพวกนี้มากมายหลายชนิด จำแนกแก้วโป่งข่ามออกเป็นชนิดต่างๆได้ถึงกว่า ๑๓๐ ชนิด ความรู้เรื่องการจำแนก quartz แสดงให้เห็นว่าต่างประเทศสนใจ quartz จำพวกเดียวกับโป่งข่ามเช่นกัน และแสดงว่าโป่งข่ามของเราบางชนิดก็เข้ากับวิชารัตนชาติ (Gemmology) ของต่างประเทศได้เช่นกัน