วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

การกำเนิดลวดลายในเนื้อแก้ว ตามหลักศาสตร์โบราณ

  เป็นความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณที่เชื่อว่าแก้วเหล่านี้มีสิ่งศักิด์สิทธิ์ คุ้มครองอยู่ จิตวิญญาณเหล่านี้เป็นเทวดาประเภทหนึ่ง  ซึ่งในพระไตรปิฎกก็กล่าวถึง อย่างคันธัพเทวา ที่หมายถึงเทพยดาที่ปฏิสนธิในไม้ชนิดต่างๆ และยังหมายถึงเทวดา หรือจิตวิญญาณที่อยู่กับวัตถุธาตุทั้งที่ปฏิสนธิโดยธรรชาติ หรือทั้งมนุษย์ผู้มีบารมีอันเชิญมา อย่างการปลุกเสกเครื่องรางของขลังเป็นต้น

          เทวดา หรือจิตวิญญาณเหล่านี้คล้ายกับเราๆตรงที่มีอุปนิสัยใจคอ ลักษณะ และความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเข้ามาครองธาตุขันธ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุทั้ง ๔ อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกับวิญญาณ ก็จะเกิดการก่อรูป (ในที่นี้หมายถึงตอนที่กำเนิดแก้วก้อนนั้นๆ)

          ตามที่กล่าวในพระไตรปิฎกว่า "วิญญาณเป็นปัจจัยให้กำเนิดนามรูป" ตรงนี้จึงทำให้แก้วแต่ละก้อน หรือแต่ละดวงนั้นแตกต่างกันจนเกิดเป็นการจำแนกคุณลักษณะภายนอกของแก้ว จากภูมิปัญญาโบราณที่ปรากฏทำให้เราสามารถแยกลักษณะจากรูปภายนอกเพื่อเข้าถึง นามรูปที่ปรากฏอยู่ภายในที่ซ้อนในอีกมิติหนึ่ง

ชนิดของแก้วโป่งข่ามอาศัยหลักในการพิจารณาดังนี้

ชนิดของแก้วโป่งข่ามอาศัยหลักในการพิจารณาดังนี้

๑. ว่าด้วยน้ำของแก้ว

     ซึ่งพิจารณาได้ ๒ ส่วนคือ ๑.๑) น้ำแก้ว และ ๑.๒) ตัวแก้ว ซึ่งมีหลักดังนี้

     ๑.๑) น้ำแก้ว ซึ่ง น้ำแก้ว นั้นยังสามารถแบ่งได้อีกคือ

          ๑.๑.๑) ประเภทน้ำใส เป็นแก้วที่ใส แสงส่องทะลุเหมือนกระจกได้ แต่ภายในอาจมีรอยราน หรือเหลี่ยมแก้วภายในทำให้เกิดการสะท้อนแสงภายในแก้วต่างๆกัน ถือเป็นลักษณะพิเศษ ซึ่งได้แก่ แก้วน้ำหาย (แก้วน้ำค้าง) น้ำแก้วน้ำใส (น้ำแก้วแร่ใน) ประกายแก้ว (วาวระยิบระยับคล้ายรอยสะเก็ดแก้วรอบๆ) แก้วกระจาย (วาวของทรายแก้วที่กระจายรอบๆ) ปวกแก้ว (ปวกน้ำดาวกระจาย-ไข่ปู) และ รุ้ง ๗ สี (รุ้งโปร่งแสง)

          ๑.๑.๒) ประเภทน้ำขุ่น คือแก้วที่มีความใสบางส่วน มีแร่ หรือแก้วทึบทำให้ดูเหมือนน้ำใสแล้วมีตะกอนขุ่นข้างใน ซึ่งลักษณะเหมือนแก้วมีตำหนิไม่ใส แต่ความจริงแล้วเป็นแก้ววิเศษ เพราะลัษณะต่างๆที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวบอกได้ว่าแก้วเหล่านี้มีคุณวิเศษด้านใด อันได้แก้ ขุ่นเนื้อลำไย (ขุ่นมีมันเวลาขัดขะขึ้นเงา) ขุ่นเมื้อมัน ขุ่นเนื้อด้านกินบ่เสี้ยง ขุ่นเนื้อด้าน ขุ่นเนื้อด้านมีแร่ เหลือบ (คือมีแร่วิ่งตามลำสะท้อนแสง)

          ๑.๑.๓) ประเภทน้ำตัน คือแก้วที่ทึบแสง เรียกว่า ตัน แต่เนื้อแก้วมีความมันวาว

อาจมีสินแร่ หรือลักษณะบางประการอยู่ที่ตัวเม็ดแก้ว ซึ่งได้แก่ ตันด้าน ตันมีแร่ ตันมัน ตันกินบ่เสี้ยง เป็นต้นค่ะ

     ๑.๒) ตัวแก้ว พิจารณาตั้งแต่หน้าแก้ว (บนแก้ว) กลางแก้ว และพื้นแก้ว (ก้นแก้ว) ว่าน้ำแก้วเป้นอย่างชนิดดีมาก ดีปานกลาง หรือว่าไม่สู้ดี ดูว่ามีตำหนิหรือไม่ ถ้ามีรอยประการแทรกอยู่ ลองหมุนดูรอบๆ หากเป็นประกายขาวๆดำๆ เหลือบกันในขณะที่มุนดูรอบๆก็แสดงว่าเป็นแก้วร้าว  แก้วดีแต่มีตำหนิอาจจะมีราคาสู้แก้วปานกลางแต่ไม่มีตำหนิไม่ได้ แก้วราคาดีอยู่ในประเภทหิวแก้ว ถ้าแก้วจำพวกมัวทึบ อาจจะเป็นพวกหินสี ซึ่งจะมีค่าต่ำกว่า

     แก้วหินแท้จุมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าแก้วกระจกธรรมดา ซึ่งสามารถทดลองดูง่ายๆได้ด้วยการนำเอาแก้วทั้งสองชนิดแตะดูที่แก้มจะพบว่า มีความเย็นที่ผิดกัน

๒. ว่าด้วยสีของแก้ว

     สีของแก้วโป่งข่ามเท่าที่พบ ทั้งที่มาจากแท่งหินแก้วหนุมาน และก้อนหินเนื้อตันที่มีต่างๆ เช่นสีฟ้า สีน้ำเงิน สีน้ำเหล็ก (สีน้ำแกร่ง) สีหม่น สีเขียว สีน้ำตาล สีหนามเฮี้ยง (สีวิตูลน้ำผึ้ง) สีเหลือง สรประภาส้มชื่น (ชมพูอ่อน) สีแดง สีขาว (ขุ่นมัน และขุ่นตัน) สีก้อ (สีทับทิม) สีม่วง (สีดอกตะแบก) สีดำมหานิล กินบ่เสี้ยง สีนิลเผือก สีหมอก สีทั้งหมดนี้ เฉพาะสีม่วง และสำดำมหานิล มีอยู่น้อยมากจนเกือบไม่เป็นลักษณะหินแก้วจากโป่งข่าม

๓. ว่าด้วยลวดลายประกอบภายในเนื้อแก้ว

     หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในแก้วเม็ดนั้น ซึ่งอยู่ในตำแหน่งสวยหรือไม่ อย่างไร และทำให้แก้วดวงนั้นดูเด่นขึ้น หรือตลอดจนมีสิ่งที่อยู่ในเนื้อแก้วมากเกินไป ร้อนเกินไป ถ้าเป็นลวดลายต่างๆ ก็ดูลักษณะลวดลายนั้นว่าดีเด่นเพียงใด สิ่งประกอบนึ้ขึ้นอยู่กับการเลือกตำแหน่งของช่างเจียรไนด้วย

     ๓.๑) ประเภทที่เกิดในแก้วโป่งข่าม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

          ๓.๑.๑) ประเภทสลักหิน พรายเงิน น้ำใสอมฟ้าหม่น

          ๓.๑.๒) ประเภทสลักลอย ช่อแก้ว น้ำใส ฟ้าอ่อน

          ๓.๑.๓) ประเภทปวกครั่งเขียว ทรายคำ น้ำใสเขียว

          ๓.๑.๔) ประเภทเส้นเหล็ก ลายทแยง น้ำใสประกายแก้ว

     ๓.๒) สิ่งที่อยู่ในแก้ว อยู่ในประเภทอะไรบ้าง เช่น แก้วปวก แก้วกาบ ใย แก้วเข้าแก้ว หรือประเภทเส้นต่างๆ ล้วนเป็นธรรมชาติของแร่ที่เข้าไปตกผลึกอยู่ภายในทั้งสิ้น พวกกาบที่สวยที่สุดคือ กาบเป็นรูปดกไม้ กาบต่างๆเป็นแร่อีกชนิดหนึ่งที่ต่างไปจากเนื้อแก้ว


ถ้าเห็นช่อแก้วคล้ายดอกไม้บางที อาจเป็นเพรากรรมวิธี หรือรอยแก้วร้าว สังเกตข้อแตกต่างให้ดี เส้นต่างๆที่เรียกว่าเส้นเหล็กถ้าเป็นของบ่อโป่งข่ามจะมีลักษณะเหมือนเส้นผม หรือเหมือนเข็ม บางทีเหมือนจนแปรงที่ออกเป็นพุ่ม เป็นแร่ธาตุต่างกันออกไปค่ะ

จากลักษณะพื้นฐานที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นพอที่จะจำแนกแก้วโป่งข่ามชนิดต่างๆ ตามลักษณะหมวดได้ออกเป็น ๓ หมวดใหญ่ รวม ๑๓๐ ชนิด  คือ

     ๑. น้ำแก้ว แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

     - น้ำใส

     - น้ำขุ่น

     - น้ำตัน

     ๒. สีของแก้ว แบ่งเป็น ๓ประเภท คือ

     - แก้วสี

     - แก้วลายสี

     - แก้วเหลือบสี

     ๓. ลวดลายองค์ประกอบ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

     - ลวดลายจากเนื้อแก้ว

     - ลวดลายจากแก้วเข้าแก้ว

     - ลวดลายจากแก้วเข้าแร่อื่นๆ

๑. โดยน้ำของแก้ว แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท น้ำใส, น้ำขุ่น และ น้ำตัน สามารถจำแนกประเภทแก้วได้ดังนี้

ประเภทน้ำใส

     ๑.   แก้วน้ำหาย (แก้วน้ำค้าง)

     ๒.   น้ำแก้วน้ำใส (น้ำแก้วแรใน)

     ๓.   น้ำแก้วกลิ้งใน (แก้ววิตูลเทศฟองสมุทรมีน้ำจริงกลิ้งอยู่ข้างใน

     ๔.   ประกายแก้ว

     ๕.   ลายแก้วกระจาย

     ๖.   ปวกแก้ว

     ๗.   รุ้งเจ็ดสี (รุ้งโปร่งแสง)

*รุ้ง ๗ สี จากผลต่างของแก้วในสกุลเดียวกันออกสีวาวแววเป็นศิลปะลวดลาย จากปรากฏการณ์ของแก้ว

*รุ้ง ๗ สี จากแผ่นแร่ต่างสกุล ออกสีวาวโลหะ เป็นการร่วมสหชาติกับแร่อื่น

ประเภทน้ำขุ่น

     ๘.   ขุ่นเนื้อมัน (เนื้อลำไย -เวลาขัดขึ้นเงา)

     ๙.   ขุ่นวาวไหมป้านกลาง แรเหลือบสีชา คือแรมุกดาจิระประภา

     ๑๐.  ขุ่นควัน หรือขุ่นครึ่งใสหมอกมุงเมือง

     ๑๑.  ขุ่นเนื้อมัน กินบ่เสี้ยง

     ๑๒.  ขุ่นเนื้อด้าน กินบ่เสี้ยง

     ๑๓.  ขุ่นเนื้อด้าน

     ๑๔.  ขุ่นเนื้อด้านมีแร (แร ๔ อย่าง)

ประเภทน้ำตัน

     ๑๕.  ตันด้าน

     ๑๖.  ตันมีแร

     ๑๗.  ตันมัน

     ๑๘.  ตันกินบ่เสี้ยง

 ๒. โดยสีของแก้ว ทั้งแก้วสี แก้วลายสี และแก้วเหลือบสี มีดังนี้

     ๑๙.  แก้วเหลือบสีพรหมสามหน้า

     ๒๐.  สีฟ้า

     ๒๑.  สีน้ำเงิน

     ๒๒.  สีน้ำเหล็ก (สีน้ำแกร่ง)

     ๒๓.  สีหม่น

     ๒๔.  สีเขียว

     ๒๕.  สีน้ำตาล

     ๒๖.  สีวิตูลน้ำผึ้ง

     ๒๗.  สีเหลือง

     ๒๘.  สีประภาชมชื่น (เหลืองทองอมชมพูอ่อน)

     ๒๙.  สีแดง

     ๓๐.  สีแดงสุริยประภา

     ๓๑.  สีนวลจันทรประภา (ออกเหลือง)

     ๓๒.  สีนวลจิรประภา (ออกวาวเหลือบสีชา)

     ๓๓.  สีขาว (ขุ่นมัน และขุ่นตัน)

     ๓๔.  สีก้อ (สีทับทิม)

     ๓๕.  สีม่วง (สีดอกตะแบก)

     ๓๖.  สีดำมหานิล

     ๓๗.  สีวิตูลก่านกินบ่เสี้ยง (คือสีต่อกลืนกันในลักษณะม้วนตัว)

     ๓๘.  สีนิลเผือก

     ๓๙.  สีหมอกเมฆ

     ๔๐.  สีเนื้อลำไย

     ๔๑.  สีเนื้อหยก

     ๔๒.  สีเนื้ออ้อย

     ๔๓. สีชมพู



๓. ลวดลายประกอบ แบ่งได้ ๓ ประเภท คือ ลวดลายจากเนื้อแก้ว, ลวดลายจากแก้วเข้าแก้ว และลวดลายจากแก้วเข้าแร่อื่นๆ

ลวดลายจากเนื้อแก้ว อันได้แก่

๔๔. ลายเมฆ
๔๕. ลายสายฝน หรือที่เรียกว่า "ฝนแสนห่า"
๔๖. ลายเปลวปล่องฟ้า
๔๗. ลายควัน
๔๘. ลายหมอก
๔๙. ลายหมอกควัน
๕๐. ลายหมอกควันเปลว
๕๑. ลายหมอกมุงเมือง
๕๒. ลายแพร
๕๓. ลายปุย
๕๔. ลายเสี้ยนแก้ว
๕๕. ลายเส้นแก้ว
๕๖. ลายเส้นสี
๕๗. ลายริ้วหิน
๕๘. ลายหมัดแก้ว หมัดสีต่างๆ
๕๙. ลายกาบรุ้ง
๖๐. ลายสะเก็ดดาว
๖๑. ลายแก้วสลัก

ลวดลายประกอบจากแก้วเข้าแก้ว หรือแก้วร่วมสกุล

๖๒. แก้วเข้าแก้วเง่า
๖๓. แก้วเข้าแก้วโตน
๖๔. แก้วเข้าแก้วแฝด
๖๕. แก้วเข้าแก้วซ้อนแก้ว (แก้วสหชาติ)
๖๖. แก้วเข้าแก้วเข้าแร่ (แก้วสหชาติต่างสกุล)
๖๗. แก้วเข้าแก้วสลัก

ลวดลายประกอบจากแก้วเข้าแร่อื่น ๗ อย่าง คือ ปวก กาบ เส้น ใย ช่อ สลัก และเป๊กปวก  อันได้แก่

๖๘. ปวกไรแก้ว
๖๙. ปวกทราย
๗๐. ปวกครั่ง
๗๑. ปวกเครือ
๗๒. ปวกลอย
๗๓. ปวกปุย
๗๔. ปวกสี
๗๕. ปวกวรรณสาม (สามสี)
๗๖. ปวกเบญจรัตน์ (ห้าสี)
๗๗. ปวกสัตรัตน์ (เจ็ดสี)
๗๘. ปวกนวรัตน์ (เก้าสี)

ปวกแต่ละชนิดนี้มีชื่อตามลักษณะสี เช่น ปวกเขียว ปวกแดง ปวกคำ (ปวกทอง) ปวกเงิน ปวกแก้ว ฯลฯ เป็นต้น

กาบ  อันได้แก่
๗๙. กาบช่อกุหลาบ
๘๐. กาบกลีบเอื้อง
๘๑. กาบรุ้ง ๗ สี
๘๒. กาบรุ้งทรงใบบัว
๘๓. กาบลารุ้งแพร
๘๔. กาบแบบกาบหอย
๘๕. กาบแบบใบพาย
๘๖. กาบลอย
๘๗. กาบลายเปลว หรือกาบสลัก
๘๘. กาบมุก
๘๙. กาบสีต่างๆ ซึ่งบ่างตามสีต่างๆ เช่น กาบรุ้งขาว รุ้งเงิน รุ้งคำ (รุ้งทอง) กาบมุก กาบ คือ แร่แผ่นต่างสกุลกับแก้ว
"โป่งข่าม"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น