วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

แก้วโป่งข่าม รัตนชาติตระกูลquartz

            แก้วโป่งข่าม คือแก้วที่ก่อกำเนิดมาจากผลึกแร่ quartz หรือหินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งจะมีแววประเภท Vitreous Luster หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วาวแก้ว"มีการสะท้อนแสงแบบแก้วประกายรุ้งซึ่งจากลักษณะน้ำในแก้วทั้งสองประการนี่เองที่ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการตั้งชื่อลวดลายต่างๆในเนื้อแก้วโป่งข่าม
ธรรมชาตของแก้วโป่งข่าม

   โครงสร้างโป่งข่ามตามหลักธรณีวิทยา

          แก้ว โป่งข่ามจัดว่าเป็นแร่อย่างหนึ่ง ซึ่งในวิชาแร่ (Mineralogy) เรียกว่า ควอทซ์ (Quartz) ซึ่งในภาษาไทยมักเรียกทับศัพท์บ้าง เรียกว่าเขี้ยวหนุมานบ้าง หรือเรียกหินดินสอก็มี quartz ส่วนมากเกิดเป็นรูปผลึก รูปร่างเป็นแท่งอย่างแท่งดินสอที่เป็นเหลี่ยมหกด้าน ปลายมักแหลม ผลึกมักเกิดเกาะกันเป็นหมู่ หรือแม้แต่เบียดกันเป็นผลึกซ้อนก็มี ส่วนมากผลึกมีขนาดใหญ่ เล็ก ยาว สั้น ไม่เท่ากัน ชาวเหนือมักเรียกว่าหน่อแก้ว ถ้าผลึกเล็กมากไปก็มองไม่เห็นรูปร่างของผลึก ถ้าโตพอ เช่นตั้งแต่ขนาดเข็มหมุดขึ้นไปจะเห็นรูปผลึก ผลึกของ quartz ยาว 10 ถึง 30 ซม. กว้าง 4-55 ซม. ถึง 10 ซม.ก็มีมาก ซึ่งผลึกอาจใส หรือขุ่นอย่างน้ำนมสด และอาจมีสีได้ต่างๆกันตามแต่ชนิดของแร่ที่เจอปนอยู่ในเนื้อ quartz เป็รแร่ที่แข็งมากอย่างหนึ่ง มาตรฐานความแข็ง (Moh' scale of hardness) ได้จัด quartz ไว้ในอันดับความแข็งที่ 7 (จาก 10 ขั้น ซึ่งเพชรมีความแข็งที่สุดคือที่อันดับ 10) ความแข็งขนาดนี้ทำให้ quartz คงทนต่อการสึกหรอได้ดีพอควร quartz จะแข็ง แต่ไม่เปราะ ขอบของผลึกที่เจียรไนแล้วจะไม่แตกง่ายอย่างเพทาย ประกอบกับการมีสีสรรสวยงามพอสมควร และมี variety มาก quartz จึงจัดเป็นรัตนะชาติตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง
รัตนชาติตระกูล quartz ซึ่งจำแนกโดยชนิด ได้แก่


๑. Amethyst คือแก้วสีม่วง ที่เราเรียกว่า"แก้วนางขวัญ" หรือ "พลอยสีดอกตะแบก" เป็นหินแก้วที่ตกผลึกใส โปร่งตา หรือโปร่งแสง ในประเทศไทยเท่าที่เคยมีการพบเห็น จะพบที่ จ.นครนายก, บ้านแม่สรอย จ.แพร่, อำเภอขลุง จ.ตราด และที่พบมากและมีเนื้อดีนั้นพบที่ บ้านแม่วะ อ.เถิน จ.ลำปาง


๒. Green Quartz หินแก้วสีเขียว

๓. Madeira Quartz หรือหิน quartz สีเหล้าองุ่นมะเดียร่า หรือสีน้ำผึ้งแก่อมแดงเล็กน้อย ไม่เคยได้ยินว่าพบในประเทศไทย จะพบโดยมากที่ประเทศพม่า

๔. Rose Quartz หิน quartz สีชมพูอ่อนดังสีกุกลาบ เคยพบที่บ่อเหมืองแร่ดีบุก จ.ระนอง และอ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

๕. Smoky Quartz หิน quartz สีฟ้า สีเทา สีควันไฟ ได้แก่หิน quartz แก้วโป่งข่ามที่ อ.เถิน และนับว่าเป็นโป่งข่ามที่ราคาดีกว่าที่มาจากแหล่งอื่นๆ

๖. Smoky Quartz ที่เป็นหิน quartz ที่มีสีเหลือง ได้แก้วแก้วโป่งข่ามที่ อ.เถิน เช่นกัน

quartz เหล่านี้จะตกผลึกใสโปร่งตา มีบางประเภทที่ใส แต่มีแร่ชนิดอื่นๆปนอยู่ด้วยเช่นพวก ใยหิน (Asbestos) รูไทล์ (Rutile) ทัวร์มาลีน (Tourmaline) กลีบหิน หรือบางคนเรียก กุหลาบทะเลทราย (Mica) คลอไรท์ (Chlorite) แร่เหล็กแดง (Hematite) และ แร่เหล็กเหลือง (Limonite) เป็นต้น

quartz ที่มาจากแก้วโป่งข่าม ดอยหมูไหล และดอยห้วยตาดซึ่งรวมเรียกว่าโป่งข่ามนั้นส่วนใหญ่เป็นหิน quartz จำพวกนี้มากมายหลายชนิด จำแนกแก้วโป่งข่ามออกเป็นชนิดต่างๆได้ถึงกว่า ๑๓๐ ชนิด ความรู้เรื่องการจำแนก quartz แสดงให้เห็นว่าต่างประเทศสนใจ quartz จำพวกเดียวกับโป่งข่ามเช่นกัน และแสดงว่าโป่งข่ามของเราบางชนิดก็เข้ากับวิชารัตนชาติ (Gemmology) ของต่างประเทศได้เช่นกัน

2 ความคิดเห็น: